ประวัติความเป็นมา และตราสัญลักษณ์ อบต.เจดีย์หัก






     ตำบลเจดีย์หัก เดิมเป็นหมู่บ้าน ชื่อว่า “หมู่บ้านธาตุ” ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนภาคเหนือที่อพยพเข้ามาอยู่เนื่องจากสงคราม และถูกกวาดต้อนให้เข้ามาอยู่ในเมืองราชบุรี และตั้งรกรากอยู่จนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านเหล่านี้เป็นผู้นับถือเจดีย์ หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า “พระธาตุ” จึงใช้ชื่อหมู่บ้านว่าหมู่บ้านธาตุ ต่อมาในสมัยอยุธยาได้โดนพม่าโจมตีทางทิศตะวันตก เจดีย์จึงพังทลายชาวบ้านจึงเรียก “เจดีย์หัก” ชาวบ้านเปลี่ยนชื่อว่าบ้านเจดีย์หัก ต่อมาทางราชการตั้งชื่อเป็นตำบลเจดีย์หัก และมีวัดอยู่หนึ่งวัด คือ “วัดเจดีย์หัก” แต่ว่าเจดีย์หักนั้นไม่เป็นมงคลจึงเปลี่ยนเป็น “วัดเจติยาราม” มาจนถึงทุกวันนี้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังคงเรียกติดปากว่าวัดเจดีย์หัก เจดีย์ที่กล่าวมานี้มี 2 องค์ที่อยู่ในวัดประชาชนเชื่อกันว่า สร้างตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยอีกองค์ตั้งอยู่ริมถนนสายเขางู-จอมบึง เชื่อว่าสร้างสมัยอู่ทองและขณะนี้ยอดเจดีย์ทั้งสององค์ปรักหักพักลงมากภายใน เจดีย์ทั้ง 2 องค์ บรรจุเศียรของพระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้เล่าว่า เวลาดีคืนดีจะเห็นแสงไฟเรือง ๆ เป็นวงกลมลักษณะคล้ายลูกแก้ววิ่งเข้าหากันระหว่างเจดีย์ทั้ง 2 องค์ ประวัติของตำบลเจดีย์หักนี้ ได้จากการบอกเล่าของท่านพระครู บัณฑิตรัตนากร เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันของ วัดเจติยาราม หรือวัดเจดีย์หัก วัด เจติยาราม เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี วัดนี้เป็นวัดโบราณมีอายุราว 200 ปี แต่ไม่มีหลักฐานว่าเริ่มสร้างแต่เมื่อใด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดมาทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร เดิมที่วัดนี้ชาวบ้านเรียกว่า “วัดบ้านธาตุ” และ “วัดเจดีย์หัก” มีพระเจดีย์ซึ่งสร้างในสมัยอู่ทองก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ราวพุทธศตวรรษที่ 12-17 เป็นเจดีย์ที่อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมหักพังทลายลงมามาก ประชาชนทางภาคเหนือของไทยมักจะเรียกเจดีย์ว่า “พระธาตุ” ผู้ มีอายุได้เล่าขานสืบต่อกันมาว่า ชาวบ้านในบริเวณนี้ได้อพยพมาจากทางเหนือในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ดังจะเห็นได้จากสำเนียงภาษาการพูดจามีลักษณะคล้าย ๆ กันด้วยเหตุ 2 ประการ วัดเจติยารามจึงได้ชื่อว่าวัดบ้านธาตุหรือวัดเจดีย์หักตามสภาพของเจดีย์ที่ หักพังชำรุดทรุดโทรมดังปรากฏอยู่ในปัจจุบันตำบลเจดีย์หัก องค์เจดีย์เป็นศาสนสถานก่ออิฐไม่สอปูน สมัยกรุงศรีอยุธยากำหนดอายุได้ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 19 มีรูปแบบเป็นเจดีย์ระฆังคว่ำ ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยม ทรวดทรงสูงเพรียว เป็นเจดีย์รุ่นเดียวกันนี้ ยังคงมีปรากฏให้เห็นอยู่ในจังหวัดอยุธยา ลพบุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี และเพชรบุรี รวมทั้งเจดีย์ที่เรียกว่าแบบ อโยธยา ในบริเวณประวัติศาสตร์อยุธยา ซึ่งสร้างขึ้นก่อนการตั้งกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 1893 จากการขุดแต่ง และบูรณะ ได้พบร่องรอยของวิหารที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก และพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายสีแดงจำนวนมาก เป็นพุทธศิลปะแบบที่นิยมสร้างในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในภายหลังส่วนปลายยอดของเจดีย์ได้แตกหักออกจากตัวเจดีย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 ชาวบ้านเรียกชื่อว่าเจดีย์หัก จึงเป็นที่มาของสัญลักษณ์ และชื่อของตำบลเจดีย์หัก และในพื้นที่แห่งนี้มีหมู่บ้านชื่อบ้านอรัญญิกนอกจากจะมีโบราณสถานปรางค์ ประธานวัดอรัญญิก พระนอน สระน้ำโบราณ ซึ่งเป็นโบราณสถานสมัยอยุธยา และ (ทุ่งอรัญญิก) ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีดินเหนียวสีน้ำตาลแดงที่มีอยู่ในท้องนาบ้าน อรัญญิกเป็นดินเหนียวที่มีคุณภาพดีเยี่ยมมีความละเอียดเหนียวเกาะตัวได้ดี ใช้ในการปั้นโอ่งมังกรและภาชนะอื่นๆอีกมากมาย ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดราชบุรี




















 



Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Japanese Korean Vietnamese

 


















เว็บไซต์ที่น่าสนใจ






















QR Code
อบต.เจดีย์หัก


 

 


 

ลิขสิทธิ์ © 2562 องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หัก จังหวัดราชบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โทร. 0-3232-4510-1